
อ่านเจอบทความเขียนโดย Victor Pineiro – strategy director ของ Big Spaceship (digital agency ชื่อดังจาก New York) มีมุมมองที่น่าสนใจมาก จึงอยากสรุปมาให้อ่านเพื่อเป็นประโยช์นแก่นักวางแผน digital strategy ทั้งหลาย
คุณ Victor ได้รับเชิญให้ไปพูดเกี่ยวกับเรื่อง content marketing ให้กับเด็กนักเรียน grade 8 (ม.2) ในวิชาโฆษณา (advertising) ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง แทนที่จะสอนแต่เรื่อง content marketing อย่างเดียว คุณ Victor เลือกที่จะสอนเกี่ยวกับทิศทางของ digital advertising (และด้านโฆษณาอื่นๆ) ด้วย
เค้าและนักเรียนในห้องสร้างแบรนด์ขนมสมมุติขึ้นมาตัวหนึงที่สินค้าเจาะกลุ่มเด็ก grade 8 และนักเรียนต้องมาช่วยกันคิดว่าเราจะเข้าหาเด็ก grade 8 คนอื่นๆได้อย่างไร หนังสือพิมพ์? วิทยุ? ทีวี? สุดท้ายมาจบที่ว่าไม่มีช่องทางไหนที่เหมาะกับคนดูกลุ่มนี้นอกจาก Internet
ถ้างั้น เด็กๆเหล่านี้เล่นอะไรบน Internet บ้าง? คุณ Victor พบว่า จากจำนวนเด็กนักเรียน 120 คน:
115 คนเล่น Instagram
85 คนเล่น Twitter
85 คนเล่น Vine*
80 คนเล่น Snapchat**
และมีเพียง 2 คนเล่น Facebook
เด็กๆดูจะชื่นชอบ Vine เป็นพิเศษ คุณ Victor ให้แง่คิดว่า Vine ซึ่งมีอายุไม่ถึงปีกลับเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นได้มากขนาดนี้ เทียบกับสิ่งที่ MySpace และ Facebook ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะทำได้ ส่วน Snapchat นั้นก็เป็น dark social** ที่เด็กวัยนี้เลือกที่จะแชร์ข้อมูลกันในกลุ่ม พวกเค้ามองว่า Snapchat เป็นส่วนหนึ่งของ Internet แต่ไม่นับรวม What’s app หรือการส่งข้อความ (sms)
ที่น่าสนใจที่สุดคือ เด็กนักเรียนเหล่านี้ไม่เคยพูดถึง “social media” ในแบบที่ผู้ใหญ่เราๆมองกัน สำหรับเด็กวัยรุ่นเหล่านี้ social media ก็คือ Internet
คุณ Victor ทิ้งทายว่า ในปี 2014 คงจะลงทุนทำการตลาดแต่ใน Facebook หรือ Twitter ไม่ได้แล้ว ต้องเริ่มทดลองกับ Vine หรือ Snapchat และต้องคอยมอง platform ใหม่ๆที่อาจเป็นที่นิยมในอนาคตด้วย นอกจากที่จะคิดวิธีสื่อสารกับคนดูหมู่มากใน social network แล้ว ต้องหาวิธีคุยกับเหล่าแฟนๆของแบรนด์แบบตัวต่อตัวหรือกับกลุ่มเล็กๆด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ เลิกมอง social media ในแบบเดิมๆเพราะนั้นจะจำกัดแนวคิดได้ ต่อไป social strategy ก็คือ digital strategy ของคุณนั้นเอง
*Vine เป็น social network ที่ให้ user แชร์ video คล้ายๆกับ Instagram video
**Dark Social คือ social platform ที่ไม่สามารถวัดค่าและเห็นการใช้งานโดยรวมได้เหมือน Facebook หรือ Twitter ยกตัวอย่างเช่น email หรือการส่งข้อความที่ส่งต่อกันในพื้นที่ปิด ตัวต่อตัว หรือกลุ่มเล็กๆ
ที่มา: http://adage.com/article/digitalnext/8th-graders-point-a-social-strategy/291090/
(ในบ้านเรา LINE ยังดูเป็นช่องทางที่ยังสดใสและเป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่ทำให้หลายๆแบรนด์ยังไม่ลงไปเล่นใน LINE น่าจะเป็นเพราะถ้าเทียบเม็ดเงินที่ต้องลงทุนเริ่มสร้าง LINE offical account กับ Facebook page นั้น LINE มันสูงกว่ามากๆ ทำให้หลายๆที่อาจจะยังไม่แน่ใจ อ่านถึงตรงนี้ก็อย่าเพิ่งตกใจไปครับ ที่อเมริกากับเมืองไทยวัฒนธรรมด้านการเสพสื่อ digital ยังห่างกันมาก ในบ้านเรา Facebook และ Instagram น่าจะอยู่ได้สบายๆและได้ผลในปี 2014 นี้ แต่หลังจากนั้นคงต้องลุ้นกันอีกทีครับ)