ข้อมูลจากงาน DAAT Day ที่จัดขึ้นทุกปีโดยสมาคมดิจิตอลเอเจนซี่แห่งประเทศไทย สรุปตัวเลขงบโฆษณาดิจิตอลครึ่งปีแรกของไทยและคาดการณ์ของครึ่งปีที่เหลือดังนี้

และแม้สัดส่วนการเติบโตเทียบกับปีที่แล้วจะอยู่ที่ 19% ซึ่งน้อยกว่าปี 2018 ที่มีสัดส่วนการเติบโตที่ 36% แต่ถ้าดูจากตัวเลขงบประมาณจริง ๆ แล้วจะพบว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้น้อยกว่าปีก่อนแต่อย่างใด ปัจจัยที่น่าจะทำให้ growth ต่ำลงน่าจะเกิดจากที่ตลาดโดยรวมเองได้เข้ามาสู่โฆษณาดิจิตอลกันแล้วตั้งแต่สองสามปีก่อนทำให้ไม่มีผู้เล่นใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากขึ้นแบบปีก่อน ๆ

อันดับสองคือ Skin Care ที่ 9% หรือ 1,900 ล้านบาท
อันดับสามคือ Communications ที่ 8%
อันดับสี่ที่ 7% คือ Non-Alcoholic Beverages
อันดับห้าเท่ากันที่ 6% คือ Banks และ Diary/Diary Substitute Products
ตามมาด้วย Insurance 5%, Retail Shop/Stores 4%, Snack Food 3%, Real Estate 3%, Hair Preparations 3%

อันดับสามเป็นงบประมาณที่ลงไปในบริการด้าน creative ที่ 10%
และ Display ที่ 9%
Search มี 8% โดยที่ปีที่แล้วอยู่อันดับ 3 ตกมาอยู่ในอันดับที่ 5 ในปีนี้
Line และ Social ที่ 7%
Online Videos ที่ 5%
Remark การแยก Discipline ของ DAAT:
Display คือ Google Display Network (GDN) และโฆษณา banner ads ที่อยู่บนเว็บไซต์หรือ app ต่าง ๆ
Online Video คือ video ads นอกจาก Facebook video และ YouTube ตัวอย่างเช่นบน Mellow หรือ Viu
Creative Production คือค่าบริการผลิตชิ้นงานต่าง ๆ ตั้งแต่ หนัง วิดีโอ banner application และบริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
Social คือการทำ digital PR, advertorials และ Influencers ต่าง ๆ
