X

เจาะลึกการใช้งาน Social Data Search Tool เพื่อวิเคราะห์ Campaign หรือ ทำ Data Research

เครื่องมือที่ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในทุกวันนี้มีให้เลือกเยอะมากมาย ตามแล้วแต่ว่า Featured หรือ Function ของเครื่องมือนั้นๆ มีรองรับตามความต้องการของ Brand หรือฝั่ง Agency หรือไม่ สำหรับครั้งนี้ เราจะขอยกตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลของ Zanroo มาให้ดูกัน

Zanroo Search เป็น Search Engine รูปแบบนึง ที่เน้นการค้นหาข้อมูลในโลกของ Social media ที่เกิดขึ้นทั้งหมด สามารถดูย้อนหลังไปได้ 6 เดือนล่าสุด ในแต่ละช่องทาง ดังนี้ Facebook , Twitter , Instagram , YouTube , Forum and Blog (Webboard ต่างๆ) และ News (Publisher Website)


Zanroo Trends

Zanroo Trends จะแสดงผล Real-time Top 10 ของ Social Search Trend โดยแบ่งออกเป็น Highlight , Overall และแยกตาม ช่องทางต่างๆ เช่น Twitter , Facebook , News และ Webboard


วิธีการใช้งาน Zanroo Search แบบฟรี (Without Log in)

  1. กรอก คำที่ต้องการค้นหา หรือ ชื่อแคมเปญ ที่ต้องการทราบในช่องค้นหา
  2. จากนั้นกด Enter เพื่อทำการค้นหา
  3. ข้อมูลจะแสดงผลทั้งในรูปแบบ “ภาพรวมทั้งหมด” ,​ “รูปภาพ” ,​”วิดีโอ” , “แผนที่”
  4. สามารถเลือก Filter ได้โดยการกดที่ Filter Options เลือกวันที่ , หรือ เรียงเนื้อหาล่าสุด หรือ เนื้อหาที่เก่าสุด หรือ เนื้อหาตามยอด Engagement

วิธีการใช้งาน Zanroo Search แบบสมัครสมาชิก (With Logged in)

  1. กดที่ปุ่ม Sign in
  2. กรอกข้อมูล User และ Password
  3. กดปุ่ม Log in
  4. กรอก คำที่ต้องการค้นหา หรือ ชื่อแคมเปญ ที่ต้องการทราบในช่องค้นหา
  5. จากนั้นกด Enter เพื่อทำการค้นหา
  6. ข้อมูลจะแสดงผลทั้งในรูปแบบ “ภาพรวมทั้งหมด” ,​ “รูปภาพ” ,​”วิดีโอ” , “แผนที่”
  7. สามารถเลือก Filter ได้โดยการกดที่ Filter Options เลือกวันที่ , หรือ เรียงเนื้อหาล่าสุด หรือ เนื้อหาที่เก่าสุด หรือ เนื้อหาตามยอด Engagement
  8. สามารถกดปุ่ม Analytics เพื่อดูและติดตามคำค้นหาเพิ่มเติมได้

วิธีการแสดงผลของ Zanroo Search

แบบแรก คือ ทั้งหมด : แบบนี้จะแสดงผลลัพธ์การค้นหาทุกช่องทาง ชื่อเนื้อหา , เนื้อหาบางส่วน , รูปภาพ (ถ้ามี) ,​ จำนวนยอดไลค์ และ วันที่โพสต์


แบบที่สอง คือ รูปภาพ : จะแสดงผลลัพธ์ทั้งหมดแบบรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราค้นหา เราสามารถเห็น รูปภาพ , ช่องทางในการโพส , ใครเป็นคนโพส , จำนวนยอดไลค์และคอมเม้นท์

แบบที่สาม คือ วิดีโอ : จะแสดงผลลัพธ์ทั้งหมดแบบวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับคำที่เราค้นหา เราสามารถเห็น รูปภาพ , ช่องทางในการโพส , ใครเป็นคนโพส , จำนวนยอดไลค์และคอมเม้นท์ และวันที่โพสต์

แบบที่สี่ คือ แผนที่ : จะแสดงผลลัพธ์เนื้อหาที่เกิดขึ้นบนแผนที่โลก ดูจำนวนเนื้อหาได้ สามารถซูมเข้าหรือออก หากไม่เจอเนื้อหาให้ทำการกด Reload Data อีกครั้ง


ในส่วนของ Analytics Dashboard Overview

ในส่วนของ Analytics Dashboard Overview จะใช้ได้เฉพาะแบบสมัครสมาชิกเท่านั้น สามารถดูราคาและแพกเกจเพิ่มเติมได้ที่นี่

Analytics Dashboard Overview จะประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ คือ

  1. Trend Line
  2. Channel Breakdown
  3. Top 5 Most Engaged Post
  4. Sentiment
  5. Engagement (Reaction)

Trend Line & Trend Line by Channel

  • Trend Line จะแสดงตามจำนวน Message ที่พูดถึงในโซเซียลมีเดียทุกช่องทาง
  • Trend Line By Channel จะแสดงจำนวน Message แยกตามช่องทางต่างๆ อาทิ เช่น Facebook , Twitter , Youtube , Forum & Blog , Instagram
  • สามารถดู Original Post ได้โดยการคลิกที่ชื่อจำนวนข้อความในแต่ละวันที่แสดงผล

Channel Breakdown

  • แสดงจำนวน Message (ข้อความที่เกิดขึ้นในโพสต์นั้นๆ) แยกตามช่องทางโซเซี่ยล ดังนี้ Facebook , Twitter , Youtube , Forum & Blog และ Instagram
  • สามารถดู Original Post ได้โดยการคลิกที่ช่องทางนั้นๆได้

Top 5 Most Engaged Post

  • แสดงผลลัพธ์โพสต์ 5 อันดับแรกที่ได้ Engaged เยอะที่สุด รวมทุกช่องทาง
  • สามารถเลือกดูตามช่องทางต่างๆ ได้ โดยการกดที่ชื่อช่องทางนั้นๆ (Tab สีเขียว)
  • สามารถดู Original Post ได้โดยการคลิกที่ชื่อผลลัพธ์นั้นๆ

หมายเหตุ ระบบ Zanroo Search แบบ Advance annual จะไม่ใช่การเก็บข้อมูลแบบ Realtime เหมือนระดับ Enterprise ฉะนั้นการแสดงผลจึงจะแสดงค่าครั้งแรกที่เก็บข้อมูล

Sentiment

Sentiment Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางด้านอารมณ์และความรู้สึกจากข้อความนั้น เพื่อบ่งบอกความรู้สึกหรือความคิดเห็นของคนที่มีต่อบางสิ่งบางอย่าง แบ่งออกเป็น
1. Positive (ความรู้สึกหรือความคิดเห็นในเชิงบวก)
2. Neutral (ความรู้สึกหรือความคิดเห็นแบบเป็นกลาง)
3. Negative (ความรู้สึกหรือความคิดเห็นในเชิงลบ)

Engagement (Reaction)

Engagement (Reaction) เราสามารถดูจำนวน Engagement ที่เกิดขึ้นจาก Reaction ต่างๆ เช่น Likes , Comments , Shares , Views , Love , Haha , Wow , Angry และ Sad จากทุกช่องทาง ทั้ง Facebook , Instagram , Twitter , YouTube , Forum & Blog และ News


การวิเคราะห์เชิงลึก

การวิเคราะห์เชิงลึกมีทั้งหมด 4 ส่วน คือ Timeline , Cloud , Influencer และ Compare ซึ่งวิธีการใช้งานคือต้องกดติดตาม (Follow) ข้อความนั้นๆ

  • เมื่อเราเลือกที่ Timeline , Cloud , Influencer หรือ Compare เราจะเห็นปุ่ม Follow & Analyse Data ขึ้นมา
  • เมื่อเราคลิกปุ่มนั้นให้รอจนโหลดข้อมูลครบ 100%
  • กดติดตามข้อความได้สูงสุด 15 Follower

Timeline

  • Timeline จะแสดงให้เห็นว่ามีใคร fanpage หรือ account ใดพูดถึงข้อความที่เราค้นหาอยู่บ้าง
  • สามารถเลือกได้ว่า 6 ชม.​ หรือ 24 ชม.
  • คลิกที่ Timeline เพื่อดูรายละเอียดของโพสต์เพิ่มเติม
  • Heat map timeline เป็นการแสดงภาพของข้อมูลออกมาในรูปแบบของ “สี” ในแต่ละสีนั้นจะหมายถึงระดับความถี่หรือความบ่อยของจำนวนข้อความที่พูดถึง ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำที่เราค้นหาด้วย
  • สีน้ำเงินเข้ม หมายถึง จำนวนของข้อความที่พูดถึงมาก
  • สีน้ำเงินอ่อน หมายถึง จำนวนของข้อความที่พูดถึงน้อย

Cloud

ระบบของ Cloud จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1. Word
2. Hashtags
3. Emoji
โดยแสดงข้อมูลสูงสุดที่ 200 คำ

Influencer

Engagement Post จะแสดงผลการค้นหาทุกช่องทางเป็น default และสามารถเลือกดูช่องทางใดช่องทางนึงได้ ดังนี้ Facebook , Twitter , Youtube , Forum & Blog , Instagram and News.

Who Have Post Related แสดงถึง Influencer ใดบ้างที่โพสต์เนื้อหาที่เกี่ยวกับคำที่เราค้นหา ในส่วนนี้อาจจะช่วยดูในเรื่องของ brand ที่จ้าง Influencer ช่วยโปรโมทแคมเปญนั้นๆ ได้ในระดับนึง

Engagement Influencer เรียงลำดับตามจำนวน Like , Comment และ Share ที่ Influencer นั้นๆ โพสต์เนื้อหา

หมายเหตุ ระบบ Zanroo Search แบบ Advance annual จะไม่ใช่การเก็บข้อมูลแบบ Realtime เหมือนระดับ Enterprise ฉะนั้นการแสดงผลจึงจะแสดงค่าครั้งแรกที่เก็บข้อมูล

Compare

ในส่วนของ Compare นั้น เราสามารถเปรียบเทียบคำที่เราค้นหาเทียบกับคำอื่นๆที่มีความสัมพันธ์กันในส่วนของ Campaign หรือ คำที่เราต้องการค้นหา เราสามารถเห็นดูเกี่ยวกับ Trends , Channel (ช่องทางต่างๆ) , Sentiment และ Top 5 post engagement.

หรือ เราสามารถเปรียบเทียบกับ Competitor ในช่วงเวลาที่เราลง Campaign นั้นๆได้เหมือนกัน

Sivaporn Boonmuen: จาก Java Programmer สู่ ASP.net Programmer พลิกผันมาทำ Front-end Developer ผ่านไป 9 ปี 6 เดือน บู๊มมมมม.. ก้าวขาเข้าสู่วงการ Digital Marketing ปีนี้เริ่มเข้าปีที่ 4 แต่เป็นปีแรกที่เริ่มทำ Data Analytics อย่างจริงจัง | Head of Analytics - TWF Agency
Related Post