คนไทยค้นหาสินค้าและบริการอะไรเพิ่มขึ้นในช่วง Social Distancing Ep.2 เทรนด์การค้นหาและ Social Voice ของผู้บรโภคช่วง Covid19

เมื่อกระแส Social Distancing เกิดขึ้น ก็ทำให้หลายๆ คนต้องหยุดอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้านเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดอัตราการเสี่ยงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค แล้วแนวโน้มพฤติกรรมของคนไทยที่ค้นหาข้อมูลนั้นเปลี่ยนไปหรือเปล่า มาดูกันค่ะ

เราคิดคำที่คนไทยน่าจะค้นหาบ่อยๆ เพราะเราเองก็เป็น 1 ในหลายคนที่อยู่ในสถานการณ์ Social Distancing และยังต้องทำงานที่บ้านชั่วคราว เห็นได้ชัดว่า ปกติที่เราสั่งของออนไลน์กันเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น Food Delivery ต่างๆ สังเกตุว่าเทรนด์ของคำว่า Delivery เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ที่มีการประกาศปิดห้าง

Online Shopping, Food Delivery

มาดูว่าธุรกิจ Delivery ของแต่ละ Brand มีแนวโน้มอย่างไรบ้าง อย่างเราเองปกติก็สั่งอาหารออนไลน์กันเป็นประจำอยู่แล้ว ตามภาพด้านล่างจะเห็นได้ว่า Brand Food Delivery เจ้าดังในไทย มีเทรนด์ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ โดยเฉพาะ Grab Food ที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเจ้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Food Panda หรือ LINE MAN

แต่ละแบรนด์ได้พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการออกโปรโมชั่นหรือแคมเปญต่างๆ เพื่อช่วยคนไทยทั้งที่เป็นเจ้าของร้านเองที่ต้องเจอการประกาศปิดห้าง และผู้ใช้บริการที่อยู่ในโลกของ Social Distancing เองได้มีทางออกที่ดีและสะดวกสบายมากขึ้น

Food Delivery

ว่าด้วยเรื่องของอาหารไปแล้ว มาดูกันว่าฝั่งของของใช้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง ปกติเราเดินห้างซื้อของเข้าบ้านกัน ไม่ว่าจะ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือ อาทิตย์ละ 2 ครั้งก็ตาม และเมื่อมีการปิดห้างเกิดขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่า ในแต่ละ Brand มียอดการค้นหาเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ คนไทยเริ่มตื่นตระหนกกับการปิดห้างและพยายามค้นหา Super Market เพิ่มมากขึ้น

Supermarket

แล้วอะไรบ้างที่คนไทยค้นหาเกี่ยวกับของกินบ้าง ตามที่เห็นในรถเข็นหลายๆคนที่ไปซื้อของตามห้าง มีทั้ง ข้าวสาร เครื่องปรุงต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลไม้ กาแฟสำเร็จรูป จากภาพด้านล่างเห็นได้ชัดว่าจริงๆ แนวโน้มของสิ่งของดังกล่าวมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะข้าวสาร

ในช่วงแรกตั้งแต่เดือนมกราคมมีการค้นหาคำนี้ค่อนข้างเยอะ และลดลงมาเรื่อยๆ เป็นได้ว่าคนมีการซื้อสินค้าชนิดนี้ไว้ตั้งแต่เดือนมกราคมและมองหาสินค้าตัวใหม่แทน

Food

แล้วสินค้าอื่นๆละ? อาหารแช่แข็ง ทิชชู่ น้ำดื่ม ปลากระป๋อง มาม่า เห็นได้ชัดว่า มาม่า เทรนด์ของคำนี้โตขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพราะมีข่าวกักตุนสินค้าในช่วงเดือนนั้นทำให้คนวิตกกังวลว่าจะขาดแคลนและมีการค้นหาเพิ่มขึ้น ส่วนทิชชู่และปลากระป๋องนั้น เทรนด์การค้นหาของคนไทยค่อยๆโตขึ้นอย่างช้าๆ อาจจะเป็นเพราะหลายๆข่าวที่ออกมาพูดเรื่องไม่ให้กักตุนสินค้าเพราะเรายังไม่ได้อยู่ในภาวะขาดแคลนของกินของใช้

Essential Products

มาดูสินค้าที่ไม่ต้องกักตุนแต่ต้องมีเกือบทุกบ้านกันบ้าง ผ้าอ้อม ผ้าอนามัย ผงซักฟอก ครีมอาบน้ำ สบู่ล้างมือ จากภาพด้านล่างเห็นเทรนด์ของ “สบู่ล้างมือ” เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด น่าจะเพราะเจลแอลกอฮอล์ ขาดตลาด จนมีหลายเพจดังๆ ช่วยรณรงค์ว่า สบู่ธรรมดาก็ช่วยทำความสะอาดได้ดีไม่แพ้กัน จากนั้นพฤติกรรมคนไทยเริ่มมองหาสิ่งทดแทนเลยทำให้คนเริ่มหาสิ่งนี้มากขึ้น

Personal Hygiene

มาดูว่าแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแต่ละยี่ห้อนั้นมีการค้นหาเพิ่มขึ้นหรือลดลงบ้างหรือเปล่า และแน่นอนว่า “มาม่า” คำยอดฮิตติดปากของคนไทยไม่ว่าจะพูดถึงยี่ห้อไหนคนไทยก็ติดภาพจำไปแล้ว คำนี้เมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ เทรนด์ก็โตขึ้นอย่างมากในช่วงที่มีการปิดห้าง

Instant Noodles

แล้วพวกเครื่องดื่มจะเป็นไงบ้างนะ…? เทรนด์การค้นหาคำเหล่านี้ไม่ได้โตขึ้นหรือลดลง ยกเว้นแค่กาแฟ ที่ค่อยๆลดลง น่าจะเป็นเพราะเมื่อมี Social Distancing เกิดขึ้น พฤติกรรมคนไทยก็ค่อยๆเปลี่ยนไปจากที่ไปร้านกาแฟบ่อยๆ ก็ลดลง เริ่มมองดูสินค้าตัวอื่นที่จำเป็นมากขึ้น

Beverage

เทรนด์การค้นหา ฝั่ง E-market ไม่ว่าจะเป็น Shopee หรือ Lazada เป็น E-commerce platform สองยักษ์ใหญ่ในประเทศไทย จากภาพด้านล่างเทรนด์การค้นหาก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก อาจเป็นเพราะเราใช้สองเจ้านี้ในการสั่งสินค้าเป็นประจำอยู่แล้วก็เป็นได้

E-Marketplace

ย้ายมาเรื่องของสวยๆงามๆ กันบ้างอย่าง Beauty/Cosmetic เห็นได้ชัดอีกเหมือนกันว่า ถ้าเป็นเรื่องของ Cosmetic อย่างเดียวเทรนด์ของการค้นหา Konvy / Sephora ลดลงในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงปัจจุบัน แต่ในขณะที่ Watson กลับค่อยๆโตขึ้น ในมุมของผู้เขียนด้วย Brand Watson เองที่ไม่ได้มีขายแค่เฉพาะเครื่องสำอาง ยังรวมถึงสินค้าทั่วไปที่เราใช้กันบ่อยๆ เช่น ครีมอาบน้ำ สบู่ ครีมทาผิว เป็นต้น และคนไทยเองก็เน้นการเข้าถึงง่าย เร็ว และสะดวก กลายเป็นพฤติกรรมคนไทยที่เราต้องตามให้ทันเช่นกัน

Beauty/Cosmetic

คนไทยค้นหาเรื่องสินค้าแฟชั่นลดลง

จากมุมของผู้เขียนที่ได้ดู Data ทำให้ยิ่งเห็นพฤติกรรมของคนไทยชัดเจนมากขึ้น ในฝั่งของ แบรนด์เสื้อผ้า เทรนด์ค่อยๆ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด คนไทยเริ่มคิดเรื่องการใช้เงินในการใช้จ่ายมากขึ้น จากภาพด้านล่างเทรนด์ไม่ได้ลดลงในทันทีแต่ค่อยๆปรับลดลงมาเรื่อยๆ แบรนด์เสื้อผ้าเองในช่วงนี้ต้องมีการปรับตัวเพิ่มมากขึ้นเพื่อลดการเสี่ยงให้แบรนด์พร้อมกลับมาอย่างแข็งแรงเหมือนเดิม

Fashion – Clothes

ค้นหาเรื่องโรงหนังลดลงและ search เรื่อง Online Streaming สูงขึ้น

อีกหนึ่งสิ่งที่เห็นชัดมากขึ้นตั้งแต่มีการประกาศปิดโรงภาพยนต์ เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมคนไทยก็เปลี่ยนไปชัดเจนมากขึ้น การค้นหาค่อยๆ ลดลง ไม่มีคนพูดถึงมากนักในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น Major Cineplex หรือ SF Cinema ทั้งสองแบรนด์คงต้องวางแผนกันอย่างหนักเพื่อให้กลับมาเติบโตได้เหมือนเดิม

Cinema

ตลาด Entertainment Online สวนกระแสกับตลาดอื่นๆพอสมควร ไม่ว่าจะเป็น Netflix หรือ LINE TV ที่เทรนด์การค้นหาเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้ จากภาพจะเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น Netflix โตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงกลางเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่คนเริ่มหยุดอยู่บ้าน ทำงานที่บ้านเพิ่มมากขึ้น ในสถานการณ์แบบนี้

Online Streaming

ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้รับ Sponsor จากแบรนด์ไหนแต่อย่างใดนะคะ เริ่มมาจากผู้เขียนเองเริ่มเห็นจากสื่อต่างๆ และจากที่เดินห้างมาช่วงก่อนหน้านี้เลยสังเกตพฤติกรรมของคนไทยมาเรื่อยๆ เลยมีโอกาสใช้ Tool ที่มีอยู่มาดูว่าการค้นหาของคนไทยว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ผลก็ออกมาอย่างที่เห็นจากภาพด้านบน ที่เห็นชัดคือ คนไทยเริ่มปรับเปลี่ยนการใช้เงินใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และ เปลี่ยนพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลจากการอ่านเป็นการฟังและดูเพิ่มขึ้น เพราะผลกระทบของโรค “ไวรัสโคโรน่า (Coronavirus)” หรือ “โควิด 19 (COVID-19)” ไม่ได้ส่งผลแค่ประเทศไทยเท่านั้น เรียกได้ว่าทั่วโลกเลยก็ว่าได้

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะอยู่แบบ Social Distancing หรือ อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ กันมากแค่ไหน ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน ทุกแบรนด์ ทุกเอเจนซี่ ร่วมมือกันต่อสู้กับเจ้าโรคนี้ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีและกลับมาเติบโตและแข็งแรงกันเหมือนเดิมค่ะ

Related Posts