Balancing Brand Building and Performance

BPB marketing สูตรไม่ลับการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพและหัวใจ

ในปัจจุบันที่โลกของเรานั้นคือโลกแห่งความเป็นจริงที่เกิดขึ้นต่อหน้าไปพร้อมกับบนหน้าจอ ได้ถูกรวมกันเป็นโลกใบเดียวอย่างไร้รอยต่อจากพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบัน ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นบน online และ offline สามารถมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ ประเด็นสังคมและบทสนทนาของเราที่เกิดขึ้นในทุกวัน และ เมื่อพูดถึงในมุมของการทำธุรกิจและมองไปถึงการขายผลิตภัณฑ์คงพูดได้ว่าการเข้าถึงผู้บริโภคนั้นง่ายและมีความหลากหลายขึ้นมาก ด้วยช่องทางการซื้อขายที่หลากหลายและอยู่แค่ปลายนิ้วมือ จึงเป็นสิ่งที่แบรนด์ต่างหันมาโฟกัสทำกันอย่างจริงจัง เห็นได้จากตัวอย่างโปรโมชั่น double digits ที่มีในทุกเดือนจากเมื่อก่อนมีแค่ไม่กี่ครั้งต่อปี แต่ในมุมของการขายนั้นแบรนด์มักจะหลงลืมบางอย่างไปในระหว่างการทำสงครามราคานั้นคือตัวตนของผู้ค้าหรือการขายของที่สร้างตัวตนให้กับแบรนด์ไปในเวลาเดียวกันนั่นเอง อย่ามัวแต่ขายของแบบก้มหน้าก้มตา สู้กันด้วยสงครามราคาเพียงอย่างเดียว เพราะตัวตนของคุณนั้นจะค่อยเลือนหาย และ สินค้าของคุณจะค่อยหมดคุณค่าไปอย่างแน่นอน

มันไม่ใช่การเริ่มต้นใหม่ แต่มันคือการนึกถึงและตอกย้ำจุดยืนของแบรนด์

การทำและสร้าง branding ในยุคนี้สามารถแทรกซึมได้อยู่ในทุกองค์ประกอบของชิ้นงานโฆษณา แค่ภาพภาพเดียว สีไม่กี่สี หรือแม้กระทั่งแคปชั่นขนาดสั้นของโพสโฆษณาโพสนึง ก็ทำให้ผู้คนนึกถึงแบรนด์ของเราได้หมด ยิ่งถ้าเรามีภาพจำที่ดีหรือเป็นแบรนด์ที่อยู่ในตลาดมานาน แต่ถ้าเป็นในมุมของแบรนด์ใหม่ในตลาด การสื่อสารที่มีการ set up ตั้งแต่แรก และ มีการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอจะค่อยช่วยสร้างภาพจำที่ดีให้แก่แบรนด์นั้นแน่นอน หรือที่ทางเราเรียกสูตรนี้ว่า BPB Marketing (Brand Performance Balance Marketing)

ทำอย่างไรให้การสร้างเรื่องราวนั้นขายของได้ด้วย

สูตร BPB Marketing (Brand Performance Balance Marketing) ในการสื่อสารที่น่าสนใจสำหรับเราตอนนี้คือ การ balancing brand building และ performance marketing เข้าไปด้วยกัน ซึ่งในมุมของ performance จะเน้นมาที่ในพาร์ทของการทำการตลาด online เพราะเนื่องจากว่ามันสามารถวัดค่าได้ละเอียดไม่ว่าจะเป็น จำนวน lead เช่น การซื้อสินค้า การลงทะเบียนความสนใจ การรับผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง หรือ คนที่เข้ามา engage กับโพสของเรามากน้อยแค่ไหน แต่อีกมุมที่จะทำให้ชิ้นงานที่โฟกัสในการขายของนั้นสามารถมีกลิ่นอายและการเล่าเรื่องของแบรนด์แบรนด์นั้นได้ด้วย หรือชิ้นงานโฆษณาชิ้นนึงสามารถมีบทบาทได้มากกว่าหนึ่ง เช่น โพส social media ที่สามารถดึงคนไปยังการ visit หน้าร้านจริงได้, brand awareness ที่ควบคู่ไปกับการขายสินค้าใน campaign นั้น ๆ จะถือว่าเป็นชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารทั้งในมุมของการสร้างแบรนด์และการขาย เพราะในการสร้างแบรนด์เราจำเป็นจะต้องมีรูปแบบของการสื่อสารในรูปแบบระยะยาวและสั้นควบคู่กันไปอยู่แล้ว ยกตัวอย่างในการโฆษณาที่เน้นการสร้างแบรนด์อย่าง

  • Asset ระยะยาวอย่าง วีดีโอโฆษณาตัวเต็มที่มีเรื่องราวเพื่อมาช่วยในการสร้างแบรนด์ เราอาจจะสามารถนำมาทำให้มีความหลากหลายเพิ่มเติมด้วยการ cut down วีดีโอให้มีขนาดสั้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพเหมาะกับการ boost post มากขึ้น เพื่อให้เห็นมุมมองต่างๆอย่าง การเน้นพูดถึงประโยชน์ของตัวสินค้า เรื่องราวของวีดีโอฉบับย่อ แยก focus message ออกไปให้ชัดเจนเพื่อสร้างการชักจูงใจลูกค้าจากหลากหลายมุม หรือจะนำไปใช้ในการยิงโฆษณาแบบ A/B testing เพื่อหาว่ากลุ่มลูกค้าของเราชอบมุมมองในการเล่าแบบไหนจากแบรนด์ของเรา
  • Asset ระยะสั้นอย่าง content ประกอบ campaign ไปจนถึง always-on content หรือ content ที่เป็น ad ที่โฟกัสในการขาย หรือ กระตุ้น conversion ก็สามารถมี element ของการเป็น Brand communication ได้ ไม่ว่าจะเป็นจากส่วนประกอบต่างๆ อย่าง CI ของแบรนด์อย่าง ภาพ, สี, ภาษาของ headline/description ก็สามารถสื่อสารถึงคาแรคเตอร์ตัวตนของแบรนด์ได้จากโฆษณาที่เน้นการขายได้ด้วย

เพิ่มประสิทธิภาพได้อีกกับวิธีการคิดและเครื่องมือใหม่ๆที่น่าสนใจ

นอกจากวิธีการคิดและสร้างชิ้นงานในการสื่อสารแล้ว ยังมีเครื่องมีอและวิธีคิดอีกมากมายที่ออกมาช่วยเหลือเพื่อให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ตรงกับเป้าหมายมากที่สุด เราขอยกตัวอย่างวิธีคิดและเครื่องมืออย่าง

  • วิธีคิด MMM (Media mix models) คือการทำความเข้าใจกับรูปแบบโฆษณาต่างๆที่ตอบโจทย์กับ objective ของ campaign ให้มากที่สุด และ พยายามที่จะสร้างความหลากหลายให้กับชิ้นงานเสมอ เช่น รูปแบบชิ้นงานมี short form และ long form รึเปล่า, ชนิดของชิ้นงานมีรูปแบบที่หลากหลายรึเปล่าอย่าง single post/photo album/motion, ชิ้นงานเราคือประเภทใด ถ้ามีความเป็น entertainment เราควรมองหาช่องทางโปรโมตที่เหมาะกับชิ้นงานลักษณะนี้ เพื่อใช้ไปยังช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับลักษณะของ campaign
  • เครื่องมือหลังบ้านจาก Meta อย่าง Lead center ที่แบ่งแยกกลุ่มเป้าหมายออกมาให้อยู่ในแต่ละ stage ของการบริโภคสินค้า เพื่อการ optimize ชิ้นงานโฆษณาที่ส่งออกไปในมุมของภาพและข้อความเพื่อสื่อสารให้ตรงกับ stage ที่ตรงกับความคิดและความต้องการของลูกค้า
  • เครื่องมือปรับรูปแบบ Ad จาก Meta อีกหนึ่ง function อย่าง lead flexible ที่เป็นการปรับ lead ad ให้มีความ friendly ในรูปแบบที่เข้ากับผู้ใช้มากขึ้น จากการเห็นแค่โพสโฆษณาใน feed ที่มีลักษณะเหมือนกันหมด จะถูกกระจายการสื่อสารไปยังช่องทางอื่น ยกตัวอย่าง  lead ที่ถูกส่งเชิญชวนใน inbox ของ Facebook messenger แทน เพราะกลุ่มเป้าหมายนั้นมีพฤติกรรมที่ชอบใช้ messenger เป็นประจำ

จาก process วิธีการสร้างชิ้นงานการสื่อสารให้มีความสมบูรณ์แบบที่เรานำเสนอมา เราเชื่อว่าวิธีนี้จะช่วยสร้างความละเอียดอ่อนให้เกิดขึ้นกับการผลิตสื่อโฆษณาในทุกๆชิ้น และ ยังสร้างความท้าทายให้กับทีมทำงานในทุกภาคส่วนของการผลิตได้อย่างแน่นอน

สนใจการทำ BPB Marketing ให้กับแบรนด์ของคุณ ติดต่อ TWF Agency ได้เลย ที่ https://twfagency.com/contact-us

Tags :

Related Posts