สรุปข้อมูล Influencer & Affiliate Marketing solution ล่าสุดจาก Shopee Thailand 

รู้จักกับ KOL Marketplace

แหล่งรวม KOL ของ Shopee ที่ Seller สามารถเลือก KOL ที่เหมาะสมตามความต้องการได้ ตั้งแต่การ filter เรื่องราคา / หมวดหมู่ของ KOL / platform ที่ใช้ / จำนวนผู้ติดตาม / อายุและเพศของกลุ่มเป้าหมาย หรือจะหาเจาะจงเป็นคนด้วยชื่อ user name ก็ได้

shopee KOL Marketplace

พร้อมกับมี dashboard เพื่อดู data insight ของ KOL ได้ โดยเฉพาะการดูอ้างอิงผลงานที่ผ่านมาว่าสร้างยอดขายไว้มาน้อยอย่างไร

ส่วนอีก feature ที่ช่วย Seller ได้มากเลยก็คือ หลังจาก Seller สร้าง campaign แล้วมีการตกลงให้ KOL รับงาน จะมีระบบในการ track การจัดส่งสินค้า เพื่อให้ KOL นำไปรีวิวและสร้าง content ด้วย (มองภาพคล้ายๆ ระบบ track การจัดส่งเวลา Seller ส่งสินค้าให้ลูกค้า) ซึ่งทำให้ Seller ทำงานง่ายขึ้นมาก ไม่ต้องวุ่นวายติดตามการจัดส่งของไปให้ KOL ในระบบอื่นๆ อีก

และยังมีระบบ chat เพื่อติดต่อพูดคุยกับ KOL ได้ทั้งก่อนและหลังรับงาน ไม่ต้องวุ่นวายออกไปคุยกันบน chat platform อื่นอีกด้วย

Golden Tick

และตอนนี้ทาง KOL Marketplace ของ Shopee มี “Golden Tick” หรือเครื่องหมายบ่งบอกความเป็น KOL คุณภาพ ซึ่งทาง Shopee คัดเลือกมาแล้วว่าเป็น KOL ที่มีผลงานที่ผ่านมาดีจริง ซึ่ง Seller จะสามารถ filter หา KOL ที่มี Golden Tick ใน KOL Marketplace ได้ด้วย

ทีนี้ลองมาดู feature ต่างๆ ใน KOL Marketplace กันว่าตอนนี้ทาง Shopee มีนำเสนออะไรให้บ้าง

Affiliate Marketing Solution (AMS)

  1. Pay Per Sale
    อันนี้น่าจะเป็น affiliate marketing แบบพื้นฐานสุด คือ Seller สร้าง campaign ใน Seller Center และตั้ง % ที่ต้องการจ่ายเหล่า KOL ที่โปรโมตสินค้า ถ้า KOL คนไหนสนใจก็เข้าไปสร้าง affiliate link เองได้ ซึ่งสำหรับ % comission มาตรฐาน ทาง Shopee มีแนะนำไว้ดังนี้
    – สินค้าแฟชั่น 7-12%
    – สินค้าอุปโภคบริโภค 9-12%
    – สินค้าอีเล็กทรอนิกส์ 4-8%
    – สินค้า lifestyle และของใช้ในบ้าน 5-10%

    (อย่างไรก็ดี การตั้ง % commission นี้ หากตั้งไว้ต่ำเกินไปก็จะไม่ดึงดูดให้ KOL เลือกสินค้าไปโปรโมต)

    โดย feature Pay Per Sale อันนี้ ระบบจะคิดค่า commission จาก Seller ต่อเมื่อมีการซื้อสินค้าจาก affliate link ที่เป็นคลิกสุดท้าย (last click) และต้องซื้อภายใน 7 วันหลังจากคลิก link ดังกล่าว วิธีนี้ก็เพื่อเป็นประโยชน์กับ Seller เอง ว่ายอดขายที่เกิดขึ้น เกิดจาก Pay Per Sale จริงๆ ไม่ได้เกิดจากช่องทางอื่นที่ Seller อาจจะมีการโปรโมตเอาไว้

    ขั้นตอนการทำ Pay Per Sale มีดังนี้
    1. Seller ตั้ง campaign บน Seller Center และกำหนด % ค่า commission
    2. KOL เลือกข้อเสนอที่สนใจแล้วสร้าง affiliate link พร้อมทำ content โปรโมต
    3. ผู้ซื้อคลิก link ของ KOL และสั่งซื้อสินค้า
    4. Seller จ่ายค่า commission สำหรับ order ที่สมบูรณ์
  2. Target Specific KOL (TSK)
    กรณีว่า Seller มี KOL ที่สนใจเป็นพิเศษอยากให้มาช่วยโปรโมท ทาง Seller สามารถตั้ง % commission ที่สูงเป็นพิเศษได้สำหรับ KOL คนนั้นๆ (ที่มาของชื่อ feature “Target Specific”) วิธีนี้สามารถช่วยดึงดูดเหล่า KOLs คนดังๆ ขายเก่งๆ ให้มาเลือกสินค้าของเราไปโปรโมตได้ง่ายขึ้น

    ต้องยอมรับว่า หนึ่งในปัจจัยหลักที่เหล่า KOL จะเลือกสินค้าไปโปรโมทคือค่า comission ที่จะได้ (ส่วนปัจจัยอื่นคือ ราคาของสินค้า และ ยอดขายที่ผ่านมา สองข้อมูลนี้ก็ KOL ใช้ประเมินว่าสินค้าจะขายง่ายหรือไม่) และสินค้าที่ทำ TSK ก็จะแสดงเป็น “ExtraComm” พร้อมกับมี notification แจ้ง KOL ใน Affliate Portal ด้วย

    โดยที่การทำ TSK นี้ ทาง Shopee ก็ได้แนะนำไว้ว่าจะเหมาะกับสินค้าต่อไปนี้
    – สินค้าที่กำลังเป็นกระแส
    – สินค้าใหม่
    – สินค้าขายดี
    – สินค้าที่ได้คะแนนรีวิวดี

    ขั้นตอนการทำ TSK มีดังนี้
    1. Seller ตั้ง campaign บน Seller Centre
    2. Seller เลือกเชิญ KOL ที่สนใจ
    3. KOL เลือกข้อเสนอกลับมา
    4. ผู้ซื้อคลิก link ของ KOL และสั่งซื้อสินค้า
    5. Seller จ่ายค่า commission สำหรับ order ที่สมบูรณ์
  3. Free Sample Feature (FSP)
    สำหรับ feature นี้ เรียกว่าเหมือนเป็น feature ตั้งรับ นั่นคือกรณีทาง Seller มีสินค้าแล้วอยากให้ KOL เอาสินค้าตัวอย่างไปทำรีวิวและถ้าขายได้ก็จะได้ค่า commission เช่นกัน feature นี้หลังจาก Seller ตั้ง campaign แล้ว KOL คนไหนสนใจก็จะส่ง request เข้ามา เพื่อให้ Seller ตอบรับ (หรือปฏิเสธ) และจัดส่งสินค้าให้ต่อไป

    ขั้นตอนการทำ FSP มีดังนี้
    1. Seller สร้าง campaign และตั้งค่า Free Sample
    2. เมื่อมี KOL แจ้งความสนใจ Seller กดอนุมัติ หรือ ปฎิเสธคำขอ (ภายใน 5 วันนับจากวันที่ KOL กดคำขอ)
    3. Seller ส่งของให้และ track การจัดส่งได้ในระบบ
    4. KOL ทำ content รีวิวพร้อมสร้าง affiliate link
    5. ผู้ซื้อคลิก link ของ KOL และสั่งซื้อสินค้า
    6. Seller จ่ายค่า commission สำหรับ order ที่สมบูรณ์

    ซึ่ง FSP นี้สามารถใช้ TSK ร่วมได้เพื่อเพิ่มค่า commission ให้น่าดึงดูดกับ KOL มากขึ้นไปอีก

    และสำหรับ FSP มีเงือนไขสำคัญดังนี้
    – สินค้า Free Sample ต้องเป็นสินค้าที่ยกให้ KOL ไปเลย ไม่สามารถให้ยืมหรือเรียกคืนได้
    – ถ้าสินค้าสูญหายตอนจัดส่ง Seller ต้องติดตามเอง (ไม่เหมือนกับส่งสินค้าให้ลูกค้า)
    – Seller ไม่สามารถบรีฟ KOL ได้เหมือน feature อื่น แต่สามารถส่งข้อมูลสินค้าให้ได้

Pay Per Post (PPP)

Feature จ่าย KOL แบบครั้งเดียว (fixed-rate) ซึ่งเป็นวิธีการทำ Influencer marketing แบบดั้งเดิมที่เน้น upper funnel สร้าง awareness และเข้าถึงคนจำนวนมากผ่านผู้ติตามของ KOL พร้อมกับการที่ Seller สามารถควบคุมเนื้อหาของ content ได้ผ่าน campaign brief

Feature นี้ทาง Seller สามารถเลือก KOL ที่ต้องการได้จาก Marketplace เหมือน feature อื่นๆ และที่สำคัญสามารถแจ้งรูปแบบ content ที่ต้องการได้ ระบุช่องทางในการโพสต์ว่าให้ลง platform ไหนบ้าง แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมที่อยากให้ใส่ และวันที่ต้องการให้โพสต์งานได้อย่างละเอียดผ่าน brief form ในระบบเลย 

ซึ่งทาง Shopee เองก็มีแนะนำเอาไว้ว่าข้อมูลในบรีฟควรจะมีรายละเอียดเหล่านี้ เพื่อให้ KOL ทำงานออกมาได้ตรงความต้องการที่สุด

ข้อมูลของร้าน
เช่น ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับร้าน Mood & Tone หรือ Character ของร้าน
จุดประสงค์ของแคมแปญ 
เช่น สร้าง awareness / เพิ่มยอดขาย / โปรโมทสินค้าใหม่ สินค้าเฉพาะ สินค้าที่กำหนด
กลุ่มเป้าหมาย 
เช่น อายุ เพศ ความสนใจ
คำอธิบายสินค้า 
ข้อมูลสินค้า วิธีการใช้ ขนาดและน้ำหนัก
USP  (Unique Selling Point)
จุดขายเฉพาะ อะไรที่สินค้าเรามีแต่คู่แข่งไม่มี
Key Message 
โปรโมชั่น / ข้อเสนอหรือส่วนลดพิเศษ / Tagline / # Hashtag / CTA
แนวทางการทำcontent
โทน ลุค ลักษณะของ content ที่ต้องการ / วิดีโอแนวตั้ง แนวนอน ความยาว สีของภาพ เสียงประกอบ Special Request 
หากมีความต้องการอื่นๆ ระบุไปด้วย

ขั้นตอนการทำ PPP
1. สร้าง campaign โดยใส่รายละเอียดบรีฟ และเลือกสินค้าที่ต้องการโปรโมท
2. เลือกหา KOL ใน marketplace แล้วส่งคำเชิญ
3. เมื่อ KOL รับงาน เจรจาเรื่อง scope ของงานและตกลงเรื่องราคา
4. ส่งสินค้าให้ KOL
5. KOL ส่ง draft งานให้ผ่าน chat
6. เมื่อได้งานที่แก้ไขจนพอใจทั้งสองฝ่าย KOL โพสต์งานและส่ง link ยืนยันการโพสต์สำเร็จในระบบ
7. Seller กดยืนยันงานสำเร็จ

สำหรับการทำงานกับ KOL ผ่าน feature PPP มีข้อแนะนำที่ควรทำเอาไว้ดังนี้

เผื่อเวลา
วางแผนเวลาการทำงานให้พอ ตั้งแต่เริ่มคุย scope และราคา จนถึงวันที่ต้องโพสต์งาน โดยที่ควรส่งคำเชิญให้ KOL ร่วมงานอย่างน้อง 14 วันก่อนวันที่ต้องการให้โพสต์ (จะให้ดี 3 week เผื่อไว้เลย)
ชัดเจน
ระบุความต้องการให้ชัดเจนทั้งตอนบรีฟและตอนปรับแก้งาน ร่วมทั้งคุยเรื่อง scope งานให้ชัดเจนตั้งแต่ตอนบรีฟ เช่น จำนวนครั้งเรื่องการปรับแก้ หรือรูปแบบงานที่ต้องการ
ไม่ฝืน
แม้การทำ PPP ทาง Seller สามารถควบคุมเนื้อหาที่ต้องการจาก KOL ได้ แต่ไม่ควรฝืนให้ KOL ทำงานผิดแปลกจากสไตล์ที่พวกเขาถนัดหรือปิดกั้นควรคิดสร้างสรรของพวกเขา อย่าลืมว่าเราเลือกพวกเขามาเพราะเราต้อการทักษะและสไตล์ในการสร้าง content ของพวกเขา
ติดตามงาน
ไม่ขาดการติดต่อ และพูดคุยรายละเอียดในทุกขั้นตอนตั้งแต่บรีฟและปรับแก้งาน

จ้าง KOL ผ่าน Shopee AMS Marketplace มีข้อดีต่างจากการจ้างตรงเองอย่างไร?

  1. Seller จ่ายเงินให้ KOL เมื่อขายได้แล้วเท่านั้นสำหรับ feature Pay Per Sale, TSK, และ FSP ส่วน PPP ทาง seller ก็จะจ่ายเมื่องานโพสต์สมบูรณ์แล้ว
  2. มีข้อมูล insight ให้ดู performance ผลงานที่ผ่านมาของ KOL ได้ ไม่ต้องขอข้อมูลจาก KOL หรือใช้เครื่องมือ social listening ดึงข้อมูลเอง
  3. แม้ Seller จะควบคุม content ที่ KOL จะทำออกมาไม่ได้ (ยกเว้นแบบ PPP) แต่ seller ก็จะได้รูปแบบ content ที่หลากหลายตามสไตล์ของ KOL และมุ่งเน้นให้เกิดยอดขายจริง
  4. ไม่ต้องวุ่นวายสร้าง UTM เองเพื่อ track performance โพสต์ของ KOL เพราะมี affiliate link ที่ KOL สร้างกันเองได้บน portal

ขอบคุณ Shopee Thailand สำหรับข้อมูล หาก SMEs เจ้าไหนสนใจ ไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน link นี้ https://shopee.co.th/m/kolmarketplace

ส่วน corporate brand ที่อยากทำ Affilate KOK Campaign ติอต่อ TWF Agency ได้ที่ https://bit.ly/3Uqvrpo

Related Posts